วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อาหารกับคนท้องในช่วงอาการท้องเดือนแรก-เดือนสุดท้าย

อาหารกับคนท้องระหว่าง 1 – 9 เดือน

สำหรับคุณแม่อาการท้องเดือนแรกไปถึงเดือน 9 กว่าจะคลอดเจ้าตัวเล็กออกมาดูโลกได้ ยอดคุณแม่คงต้องผ่านช่วงเวลาเปลี่ยนแปลงมากๆ ตลอด 9 เดือนนี้กันบ้างนะคะ มาดูกันสิว่า อาการที่จะเกิดขึ้นในแต่ละเดือนจะมีผลกับการทาน และไม่อยากทานอาหารอย่างไรกันบ้างค่ะ  

อาการท้องเดือนแรก

ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก (เดือนที่ 1-3)
อาการของคุณแม่ :
 ช่วงอาการท้องเดือนแรกนี้รูปร่างก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก น้ำหนักตัวก็ยังไม่ค่อยเพิ่มขึ้น นอกจากว่าถ้ามีอาการแพ้ท้องก็อาจทำให้น้ำหนักตัวลดลงไปบ้างนะคะ เพราะพอเราแพ้ท้อง ก็จะทานอาหารได้น้อยลง แถมยังรู้สึกเหนื่อยง่าย จู่ๆก็อ่อนเพลียไม่มีแรงซะอย่างนั้น ช่วงนี้จะทานอะไรไม่ค่อยอร่อย เชื่อไหมคะว่าขนาดดื่มแค่น้ำเปล่ายังรู้สึกขมๆ ได้เลย แล้วส่วนใหญ่ก็จะนอนเก่งขึ้น รู้สึกขี้เกียจไปหมด ตอนเย็นๆ บางวันอาจรู้สึกเหมือนเป็นไข้รุมๆ บ้าง และอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ แปรปรวนง่าย เครียดง่าย
คุณแม่ที่กำลังตั้งท้องบางคนในช่วงอาการท้องเดือนแรกๆ นี้อาจเอาแต่ใจตัวเองผิดปกติ หงุดหงิด ขี้รำคาญ หรือบางคนถึงกับขาดความมั่นใจ มีอาการซึมเศร้า จู่ๆ ก็ร้องไห้ได้เลยนะคะ ทำให้คนรอบข้างถึงกับแปลกใจว่าทำไมจู่ๆ คุณแม่อย่างเราถึงเป็นแบบนั้นได้ แม้แต่ตัวเราเองยังรู้สึกเลยค่ะ แต่ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ไม่ต้องเป็นห่วงไปนะคะเพราะใช้เวลาสักพักก็จะปรับตัวเข้าที่เข้าทางขึ้น จะรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นด้วยค่ะ แล้วพอเข้าช่วงปลายๆ เดือนที่ 3 อาจต้องขยายไซส์เสื้อผ้าเล็กน้อย เพราะคุณแม่อย่างเราจะเริ่มมีพุงน้อยๆ พอให้รู้สึก อวบๆ ขึ้นบ้างแล้วค่ะ
แนะนำ : ช่วงที่มีอาการท้องเดือนแรกๆ นี้คุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องเดือนแรกถึงเดือนสาม อาจจะรู้สึกไม่ค่อยอยากทานอาหารอะไรมากนัก ทั้งที่เป็นช่วงที่ต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ให้มากเข้าไว้ เพื่อช่วยกันสร้างพัฒนาการของเจ้าตัวเล็ก เพราะฉะนั้นอยากให้ลองฝืนใจกันหน่อย คิดไว้เสมอว่า “ทานเพื่อลูก ทานเพื่อลูก สู้ๆ” แล้วก็ควรทานแต่ผัก ผลไม้สดๆ และเน้นอาหารที่มีโปรตีนให้มากขึ้น เพราะอยู่ในช่วงที่เจ้าตัวเล็กกำลังสร้างอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่ายกายตั้งแต่หัวจรดเท้าแล้วค่ะ ถ้าให้ดีคุณแม่อย่างเราก็ควรเลี่ยงอาหารหรืออยู่ห่างจากสารพิษที่อันตราย อย่างแอลกอฮอล์ บุหรี่ และยาบางชนิดไว้บ้าง เพราะอาจทำให้เจ้าตัวเล็กของเราถึงกับพิการได้ค่ะ และถ้าคุณแม่ที่ไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่ก็ต้องระวังให้มาก เพราะเป็นช่วงที่แท้งได้ง่ายที่สุดด้วย คุณแม่ควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษสุดๆ กันหน่อยนะคะ 

อาการท้องช่วงท้าย

ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 (เดือนที่ 4-6)
อาการของคุณแม่ : 
ช่วงที่มีอาการท้องเดือนหลังๆ มาแล้ว คุณแม่ที่แพ้ท้องช่วยเดือนสี่ไปถึงเดือนหก อย่างเราจะเริ่มรู้สึกว่าร่างกายเปลี่ยนแปลงมากขึ้นแล้วค่ะ ทั้งน้ำหนักตัวหน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น รวมทั้งเต้านมที่โตและรู้สึกเจ็บขึ้นโดยไม่มีสาเหตุนะคะ แล้วก็จะเริ่มมีอาการเหนื่อยง่าย เหงื่อออกง่ายกว่าเดิม และคุณแม่บางคนอาจมีอาการปวดหลัง เพราะน้ำหนักของท้องที่เพิ่มขึ้นบ้างแล้ว แต่รับรองว่าถ้าผ่านช่วงเวลาที่แพ้ท้องมาได้ คุณแม่อย่างเราจะค่อยๆ ปรับตัวได้มากขึ้น และจะเริ่มรู้สึกผูกพันกับลูกเป็นพิเศษ เริ่มรู้สึกแล้วว่าเขากระดุกกระดิกแล้วนะ เรียกว่าช่วงนี้คนเป็นแม่จะรู้สึกมีความสุขมากขึ้นค่ะ และอารมณ์ก็ไม่แกว่ง เหมือนช่วงเดือนแรกๆ ที่ตั้งครรภ์ด้วย
 
ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 (เดือนที่ 7-9)
อาการคุณแม่ : ยิ่งใกล้คลอดรูปร่างของเราก็ยิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นจนชักเริ่มรู้สึกอุ้ยอ้ายไปหมด แล้วก็จะรู้สึกเหนื่อยง่าย ยิ่งช่วงใกล้คลอดเท่าไหร่ก็ยิ่งรู้สึกอึดอัดกว่าเดิมด้วยค่ะ ท้องจะตึงแน่น เจ็บหัวหน่าว ปวดถ่วงแถวเชิงกราน ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะน้ำหนักของมดลูกเริ่มไปกดทับมดลูกแล้วค่ะ และช่วงใกล้ๆ คลอดก็อาจบวมที่ข้อเท้าและนิ้วมือด้วย
แนะนำ : เพราะมดลูกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทำให้ไปกดทับพื้นที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายมากขึ้น อย่างปอดและกระเพาะอาหารของเราก็จะเล็กลง บางคนอาจรู้สึกหายใจถี่ขึ้น เหมือนหายใจสั้นๆ ไม่ค่อยเต็มปอดเท่าไหร่ รู้สึกแสบร้อนในอกเพราะมดลูกไปเบียดกระเพาะอาหาร ทำให้น้ำย่อยล้นขึ้นไปที่หลอดอาหารได้ง่ายกว่าเดิม ช่วงนี้อยากให้คุณแม่อย่างเราๆ นอนหนุนหมอนให้สูงหน่อยนะคะ แล้วก็ทานนมอุ่นๆ ก่อนนอนบ้าง จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ค่ะ

4 อาหารที่สำคัญต่อสุขภาพคนท้องเดือนตั้งแต่ 7-9 เดือน

  1. คุณแม่อาการท้องช่วงนี้ อาหารสำหรับคนท้องคือ ดื่มนมที่มีดีเอชเอ โคลีน และสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็น อย่างน้อยวันละ 2 แก้ว จะได้ช่วยเติมสาร อาหารให้เพียงพอต่อพัฒนาการทางร่างกายและสมองของเจ้าตัวเล็กด้วยค่ะ
  2. ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว และควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้งดชา กาแฟ และน้ำอดลมด้วยก็ยิ่งดีนะคะ
  3. ช่วงนี้คุณแม่อย่างเราควรงดอาหารที่ไม่มีประโยชน์สำหรับคนท้องอย่าง ขนมหวานแสนโปรดอาหารทอดๆ ชุ่มน้ำมัน ผลไม้กระป๋อง หรือแม้แต่อาหารสำเร็จรูปต่างๆ ลูกชิ้น ไส้กรอกหรืออาหารที่ใส่สารกันบูด สารฟอกขาวต่างๆ
  4. เลือกทานแต่อาหารที่ปรุงสุกใหม่เท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


ผู้ติดตาม